วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

ลอร์ด เออร์เนสท์ รัทเทอร์ฟอร์ด ( Lord Ernest Rutherford)


 ลอร์ด  เออร์เนสท์  รัทเทอร์ฟอร์ด 





เกิดเมื่อ           ค.ศ.1871

ผลงาน            โครงสร้างอะตอม      งานเกี่ยวกับสสารกัมมันตภาพรังส

ถึงแก่กรรม       ค.ศ.1913

    ประวัติโดยย่อ

             รัทเทอร์ฟอร์ด เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวนิวซีแลนด์เกี่ยวกับด้านการทดลองและได้ทดลองเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอมโดยใช้การยิงอนุภาคแอลฟาผ่านไปยังแผ่นทองคำ ให้ไปกระทบกับฉากเรืองแสงด้านหลังและพบว่า  แบบจำลองอะตอมของเขาขัดแย้งกับดอลตัน   รัทเทอร์ฟอร์ดจึงเสนอแบบจำลองอะตอมใหม่ว่า อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสมีโปรตอนซึ่งมีขนาดเล็กแต่มีมวลมากรวมกันอยู่ตรงกลางนิวเคลียส  ส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบและมีมวลน้อยมากวิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสเป็นบริเวณกว้าง นอกจากนี้เขายังศึกษาเกี่ยวกับสสารกัมมันตภาพรังสีต่างๆอีกด้วย    

ผลงาน

แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

        ในปี พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910)  เซอร์ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด  (Sir Ernest Rutherford)  ได้ศึกษาแบบจำลองอะตอมของทอมสัน  และเกิดความสงสัยว่าอะตอมจะมีโครงสร้างตามแบบจำลองของทอมสันจริงหรือไม่  โดยตั้งสมมติฐานว่า
ถ้าอะตอมมีโครงสร้างตามแบบจำลองของทอมสันจริง  ดังนั้นเมื่อยิงอนุภาคแอลฟาซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเข้าไปในอะตอม  แอลฟาทุกอนุภาคจะทะลุผ่านเป็นเส้นตรงทั้งหมดเนื่องจากอะตอมมีความหนาแน่นสม่ำเสมอเหมือนกันหมดทั้งอะตอม
เพื่อพิสูจน์สมมติฐานนี้  รัทเทอร์ฟอร์ดได้ทำการทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ โดยมีความหนาไม่เกิน 10–4 cm  โดยมีฉากสารเรืองแสงรองรับ  ปรากฏผลการทดลองดังนี้
1.  อนุภาคส่วนมากเคลื่อนที่ทะลุผ่านแผ่นทองคำเป็นเส้นตรง
2.  อนุภาคส่วนน้อยเบี่ยงเบนไปจากเส้นตรง
3.  อนุภาคส่วนน้อยมากสะท้อนกลับมาด้านหน้าของแผ่นทองคำ





ถ้าแบบจำลองอะตอมของทอมสันถูกต้อง  เมื่อยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ นี้  อนุภาคแอลฟาควรพุ่งทะลุผ่านเป็นเส้นตรงทั้งหมดหรือเบี่ยงเบนเพียงเล็กน้อย  เพราะอนุภาคแอลฟามีประจุบวกจะเบี่ยงเบนเมื่อกระทบกับประจุบวกที่กระจายอยู่ในอะตอม  แต่แบบจำลองอะตอมของทอมสันอธิบายผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดไม่ได้  รัทเทอร์ฟอร์ดจึงเสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นมาใหม่ดังนี้


อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมกันอยู่ตรงกลาง  นิวเคลียสมีขนาดเล็กแต่มีมวลมาก  และมีประจุบวก  ส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบและมีมวลน้อยมากวิ่งอยู่รอบ ๆนิวเคลียส

สรุปผลการทดลอง

          - ส่วนใหญ่จะเดินทางเป็นเส้นตรง แสดงได้ว่าภายในอะตอมจะต้องมีที่ว่างมากมาย
          - ส่วนน้อยจะมีการเบี่ยงเบนทิศทาง แสดงว่าภายในต้องมีอนุภาคที่เป็นบวกอยู่แต่มีขนาดเล็กนิดเดียว
          - นาน ๆ ครั้งจะมีการสะท้อนกลับอย่างแรง แสดงว่าต้องมีอนุภาคที่มีมวลมากแต่มีขนาดเล็กรวมกันเป็นกลุ่มอยู่ภายในอะตอม
          จากการทดลองซึ่งรัทเทอร์ฟอร์ดทำเพื่อยืนยันแบบจำลองอะตอมของทอมสันที่ว่า "โปรตอนและอิเล็กตรอนกระจายทั่วอะตอม" ซึ่งเขาตั้งสมมติฐานว่า ถ้าแบบจำลองอะตอมของทอมสัน ถูกต้อง อนุภาคแอลฟาควรจะมีการสะท้อนกลับในเปอร์เซ็นต์ที่สูงมาก แต่เมื่อเขาได้ทำการทดลอง และผลการทดลองออกมาขัดแย้งกับแบบจำลองอะตอมของทอมสัน เขาจึงได้สร้างแบบจำลองอะตอมใหม่

1 ความคิดเห็น:

  1. รูปแบบจำลองของรัทเทอร์ฟอร์ด มันเป็นของทอมสันรึปล่าวครับ ใส่ผิดรูปป่าวครับ

    ตอบลบ